เอกลักษณ์ของชาวใต้ที่น่าภาคภูมิใจอย่างหนึ่ง
คือ มโนราห์ หรือ โนรา ซึ่งเป็นศิลปะการร้องและการรำชั้นสูง มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี
บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ไหวพริบ
สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไวมีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำ และเครื่องแต่งกาย
เครื่องดนตรีประกอบด้วยกลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ
ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง
แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย ความเป็นศิลปะชั้นสูงของมโนราห์นั้น สามารถดูได้จาก
พิธีไหว้บูชาครู หรือที่เรียกว่า “ครอบครู”
ที่เป็นมรดกของชาติและเป็นที่ยอมรับว่างดงามและสูงส่ง
บนปรัมพิธีจะมีเศียรเก้าเศียร ซึ่งเศียรที่เก้านั้นก็คือ เทริด มโนราห์ (คล้ายมงกุฎ)
เพื่อให้เกิดสิริมงคลและได้ให้ผู้ที่รำได้มีความเคารพ
บูชาครูมโนราห์ เป็นการแสดงความซื่อตรงและรำลึกคุณงามความดีของครู เป็นผู้ประสาทวิชาการรำมโนราห์ให้ และเป็นการถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลังสืบมา
อีกส่วนหนึ่งของการรำมโนราห์ได้ ภายในวงจะต้องประกอบไปด้วย ผู้รำ คนบรรเลงดนตรี
คนขับบทกลอน ต้องคอยประสานกันถึงจะมีความสมบูรณ์แบบ ถ้าหากว่าขาดส่วนใดไป
ก็ไม่สามารถแสดงต่อหน้าสาธารณชนได้
เพราะขาดความสุนทรียภาพของการชมไปทุกส่วนย่อมมีความสำคัญมากไม่ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังอาทิ ตีกลอง
ขับร้องกลอน และอื่น ๆ
หรือคนที่อยู่เบื้องหน้า คือ ตัวผู้รำที่สร้างความสุขให้กับผู้ที่มาชม
ความเป็นเอกลักษณ์และคุณค่าทางวัฒนธรรมเหล่านี้
เป็นตัวผลักดันให้เกิดความสามัคคีเป็นอย่างดีในชนชาวใต้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมชาวใต้จึงหวงถิ่นรักพี่เอื้ออาทรพี่น้อง ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามโนราห์เป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมที่ดีงาม
ที่ควรรักษาเอาไว้ให้อยู่จนถึงรุ่นลูกหลานสืบไป
ที่มาจาก :http://www.m-culture.go.th/phatthalung/index.php
นางสาวพิมชนก นิ่มเรือง เลขที่ 26 ม.6/2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น